การฉายแสงรักษามะเร็ง

การฉายแสงรักษามะเร็ง

รังสีพลังงานสูงมีคุณสมบัติทำลายเซลล์มะเร็งได้ดี มีผลต่อเซลล์ธรรมดาบ้าง นอกจากฉายแสงรักษามะเร็งแล้วยังสามารถใช้รักษาโรคอื่น ๆ ที่ไม่ใช่มะเร็งได้อีกด้วย รังสีมีผลทำให้ข้อมูลทางพันธุกรรมของเซลล์ หรือ สิ่งแวดล้อมทั้งภายในและ ภายนอกเซลล์เสียสมดุล เซลล์นั้นไมสามารถแบ่งตัวต่อไปได้และถูกทำลายในที่สุด รังสีรักษาสามารถใช้ในการรักษามะเร็งหลายชนิดในตำแหน่งต่างๆ ของร่างกาย

 

การฉายแสงรักษามะเร็ง

การฉายแสงรักษามะเร็ง

สำหรับผู้ป่วยที่ต้องทำการรักษามะเร็งโดยการฉายรังสี แพทย์รังสีรักษาจะเข้ามามีบทบาทในการรักษาโดยเป็นผู้วางแผนการฉายรังสี กำหนดตำแหน่งเป้าหมาย การใช้รังสีรักษามะเร็งในผู้ป่วยแต่ละราย ตลอดจนระยะเวลารักษามะเร็ง และขนาดของรังสีที่ได้จะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง การตอบสนอง และระยะมะเร็งของแต่ละคนที่มาพบแพทย์ การฉายรังสีนั้นต้องอาศัยประสบการณ์และ ความชำนาญ เพื่อให้การรักษามะเร็งมีประสิทธิผลสูงสุด และให้ผู้ป่วยได้รับผลข้างเคียงจากการฉายรังสีน้อยที่สุด

แตกต่างระหว่างคำว่า “ฉายแสง” กับ “ใส่แร่”

การฉายรังสีรักษามะเร็ง แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ

v การฉายรังสีระยะไกล หรือ การฉายแสงรักษามะเร็ง

v การฉายรังสีระยะใกล้ หรือ การใส่แร่รักษามะเร็ง

 

v  ผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่จะได้รับการฉายรังสีระยะไกล

 การรักษามะเร็งส่วนใหญ่จะใช้การฉายรังสีระยะไกล หรือการฉายรังสีภายนอก หรือเรียกสั้นๆ ว่า “ฉายแสง” เป็นหลัก เครื่องมือที่ใช้รักษา ได้แก่ เครื่องโคบอลต์-60, เครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอน หรือไลแนค (Linear Accelerator: LINAC) เป็นต้น ผู้ป่วยมะเร็งแต่ละรายจะมีผลข้างเคียงแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริเวณที่ฉายรังสี, ปริมาณรังสีที่ได้รับ และเมื่อฉายรังสีครบ อาการแทรกซ้อนจากการรักษามะเร็งด้วยรังสีต่างๆ เหล่านี้ จะค่อยๆ ลดน้อยลง หรือกลับสู่สภาวะปกติได้

v  การฉายรังสีระยะใกล้ หรือ การใส่แร่

เป็นการรักษามะเร็งโดยใส่แร่ปริมาณสูงแบบชั่วคราวหรือถาวรเข้าไปที่เนื้อเยื่อ หรือโพรงอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย แร่ที่ใช้ในการรักษามะเร็ง ได้แก่ แร่อิริเดียม-192, แร่ซีเซียม-137,เรเดียม, ไอโอดีน, อีร์เดียม, โคบอลล์, คาลิฟอร์เนียม เป็นต้น เมื่อผู้ป่วยได้รับการฉายแสงหรือใส่แร่เสร็จแล้ว ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ ไม่จำเป็นต้องนอนค้างที่โรงพยาบาล สามารถไปทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้เหมือนคนทั่วไป รวมทั้งอยู่ใกล้ชิดกับเด็ก, คนท้อง และญาติได้ เนื่องจากการฉายแสงและการใส่แร่เป็นการรักษามะเร็งเฉพาะบริเวณที่เป็นโรค เมื่อรักษามะเร็งเสร็จ แสงหรือแร่ที่ใช้รักษามะเร็งจะไม่ตกค้างอยู่ในตัวผู้ป่วย

 

การใช้รังสี 2 ส่วนนี้ สามารถใช้เดี่ยว ๆ หรือใช้ร่วมกันก็ได้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านรังสีรักษามะเร็ง

การรักษามะเร็งด้วยรังสีอาจทำได้โดย

  • ใช้รังสีเพียงอย่างเดียว โดยมากเป็นการรักษาเพื่อให้หายขาดสำหรับมะเร็งระยะแรก ๆ เช่น มะเร็งบริเวณศีรษะและคอ มะเร็งปากมดลูก เป็นต้น
  • ใช้รังสีร่วมกับการผ่าตัดโดยอาจใช้ก่อนหรือภายหลังผ่าตัด และปัจจุบันมีการใช้รังสีในระหว่างการทำผ่าตัดได้ด้วย ทำให้ผลการรักษามะเร็งของอวัยวะภายในได้ผลดีขึ้น
  • ใช้รังสีร่วมกับเคมีบำบัด อาจให้รังสีก่อนหรือหลังหรือให้พร้อม ๆ กับการใช้ยาเคมีบำบัดก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะแพทย์ที่รักษา
  • ใช้รังสีร่วมกับการผ่าตัด เคมีบำบัดรวมถึงชีวบำบัดผสมผสานกัน

 

จุดมุ่งหมายของการใช้รังสีรักษามะเร็ง มีอยู่ 2 ประการคือ

  1. เพื่อผลการรักษามะเร็งให้หายขาด โดยมากเป็นผู้ป่วยในระยะหนึ่งถึงสอง
  2. เพื่อบรรเทาอาการ ในกลุ่มนี้ไม่สามารถรักษามะเร็งให้หายขาดได้โดยรังสี แต่เป็นการบรรเทา อาการปวด อาการแน่นหน้าอก, หายใจลำบาก, อาการเลือดออกมาก เป็นต้น

รังสีรักษามะเร็งเป็นการรักษามะเร็งที่ไม่มีความเจ็บปวด ไม่เสียเลือด และการรักษามะเร็งด้วยรังสีส่วนใหญ่เป็นการรักษาแบบผู้ป่วยนอก ไม่ต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เผลทางด้านรังสียังไม่เกิดขึ้นทันที แต่เมื่อผู้ป่วยมะเร็งได้รับการฉายรังสีเป็นระยะเวลาหนึ่ง จึงจะเริ่มมีผลข้างเคียงหรือผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสี เช่น คลื่นไส้, อาเจียน, ผมร่วง, ผิวหนังมีสีคล้ำขึ้น เป็นต้น

 

ใส่ความเห็น